payment gateway/intermediaries ที่ได้ค่าธรรมเนียมเวลามีการจ่ายเงิน
“ถ้าผมเป็น payment gateway/intermediaries ที่ได้ค่าธรรมเนียมเวลามีการจ่ายเงิน หรือเป็นคนทำ cashcard ที่คนต้องเอาเงินมากองไว้ที่ผมล่วงหน้า ผมสนับสนุน “สังคมไร้เงินสด” แบบสุดลิ่มทิ่มประตูแน่ๆ ก็ผมได้ตังค์อ่ะเวลาคนใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ คนใช้เงินสดผมไม่ได้ตังค์
แต่ไม่ใช่ไง ผมเห็นประโยชน์ของเงินอิเล็กทรอนิกส์จริง (แล้วผมก็ใช้อยู่ด้วย ผสมกับเงินสด) เรื่องศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค* เรื่องบังคับดึงคนเข้าระบบภาษีห้ามเลี่** เรื่องร่องรอยในการตรวจสอบการทุจริต (*ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมนี่ลดแน่ แต่จะตกมาถึงผู้บริโภครึเปล่านี่อีกเรื่อง ซื้อตั๋วเครื่องบินจะจ่ายด้วยอิเล็กทรอนิกส์มันยังคิด processing fee กับคนซื้อกันเลย แบงก์ไม่แบก สายการบินไม่แบก มาลงที่คนซื้อ เอ้า ไหนว่าประหยัดค่าดำเนินงาน) (**ซึ่งอันนี้ยังคุยต่างหากได้อีก เพราะก็มีคนคิดว่าการตัดสินใจเลือกไม่จ่ายภาษีเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม หรือ Tax Revolt น่าจะทำได้ http://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Finvestments-today.blogspot.com%2F2008%2F11%2Fblog-post_02.html&h=hAQGrIfUhAQGqfXoNG9-JVQRPYprY3SSOeG6IH9k89GNQrg&enc=AZN2uKJcmdOq9OQ3IGLpIiLqH1xz_stY-gvF6ioiJDLo-d4ahnQiMoRjRqweZYOCn1xmxRZ7FbGo2XuigIozeQa8pGACx1BgkZ5aKfy2CiOyQ5QsXjZ6SKg2uR2bdmB8KxlF66ugOepfuW_JgZNWM_xs1Q7XNqAQLUL4Db2qkuj9LvHPAGa8xX-z0OaTJddsrZJ36bfFoa3IwET2-wwwApsd&s=1post_02.html
http://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FiBizChannel%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9560000140858%26Html%3D1%26TabID%3D1&h=NAQHHjAgNAQGnMSpg8X_l-jMDYqOOtQ8ghuKJWhLQvvI3jQ&enc=AZOnF_CwlQRdyyc5E0sj87aX24TkjwveOflUaeT2uRSAW_6iQOdfcG2DBBvTk1Hd3K2LXBJ7hNfQcsyZ3GEJOSjILUHfc2k689TvaSbuVauy7hHrl8qZb_Q_M7Gt-3rxoamljSot_q1YbILjyZLMB0lFfL-mK2U-F9sIztmmRTNulWQZRNl1voLXn_43HcOg7MKcuI97SLv-vZXzgJInGn5R&s=1
แต่มันก็มี trade off ทั้งนั้น ทำไมไม่พูดถึงกัน เช่น
– เรื่องความปลอดภัยที่คนห่วงก็ยังทำให้มั่นใจไม่ได้ (เชื่อจริงๆ ว่าฝ่ายไอทีของธนาคารเก่ง และทำระบบไอทีปลอดภัย แต่ความไม่ปลอดภัยมันไปอยู่จุดอื่นไง เคสกสิกร+ทรูก็เห็นใช่ไหม เกิดอะไรขึ้นพอเราเอาข้อมูลอย่าง เลขประชาชนหรือเลขโทรศัพท์ให้คนอื่นรู้ และตัวระบบดันให้ใช้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นสิ่งยืนยันตัวตนของเรา) อันนี้คนพูดกันเยอะแล้ว
– ข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจถูกละเมิดจากไอ้ร่องรอยเดียวกับที่จะใช้จับทุจริตนี่แหละ (“ถ้าไม่จะทำผิดจะกลัวอะไร” พี่บอกรหัสผ่านผมไหมล่ะ แล้วโดยหลักทุกคนมันควรจะถูกทรีตเป็นผู้บริสุทธิ์ไง ไม่ใช่อาชญากร จะ trace นี่สุดท้ายผมก็ให้ทำได้แหละ แต่มีหลักประกันไหมว่าจะใช้ case by case ไม่ทำพร่ำเพรื่อ แล้วถ้าเกิดข้อมูลหลุด มีความเสียหาย คุณรับผิดชอบ ไม่มีใครพูดถึง กฎหมายเรื่องนี้ก็ยังไม่มี)
– จริงๆ เรื่องทุจริตคอรัปชันอะไรนี่ เราจะตามจับกันที่สเกลไหนล่ะ เอาถึงระดับตลาดสดหรือโชห่วยเลยไหม ซื้อน้ำซื้อผักอยากตามรอยถึงขนาดนั้นไหม คุ้มไหม (แล้วใครรับผิดชอบ processing fee?) หรือจะเอาเฉพาะรายใหญ่ขึ้นมาหน่อย ซึ่งถ้าเอาแบบนั้น คุณจะเอาข้ออ้างนี้มาพูดกับโครงการอย่างพร้อมเพย์ซึ่งกลุ่มเป้าหมายถึงรายย่อยไม่ได้ไง มันคนละสเกล หรือกรณีร้านค้าที่ขายเงินสดแล้วแจ้งยอดขายไม่ตรงไปตรงมา มันมีวิธีแก้ปัญหาอื่นไง เช่นบังคับหรือหามาตรการจูงใจให้ต้องออกใบเสร็จ (ชิงโชคใบเสร็จงี้) ซึ่งนี่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ เงินสดก็ใช้มาตรการนี้ได้
– ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการทางการเงินและบริการอื่นๆ (ซึ่งต้องใช้เงินซื้อ) คือไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงเน็ต/เครือข่ายโทรคม อุปกรณ์ หรือทักษะ (ถ้าฝั่งของผู้ประกอบการก็ยังมีเรื่องการลงทุนของร้านเอง)
– กรณีข้างต้นชัดเจนมาก กระทั่งในสวีเดนที่เราชอบอ้างๆ กันว่าจะเป็น cashless society ไม่ใช้เงินสดกันแล้ว แต่สุดท้ายต้นปีนี้ ธนาคารกลางสวีเดนก็ต้องออกมาแตะเบรก บอกว่ามันชักจะเกินไป ธนาคารมากกว่า 50% ไม่ให้บริการฝากถอนเป็นเงินสดแล้ว เปลี่ยนเร็วแบบนี้มีคนเดือดร้อน “The concern at Riksbank is that not all members of society have equal access to alternatives to cash as a result of a lack of skills, equipment or internet access.” เขาบอกว่าสิ่งสำคัญคือ ทุกคนในสังคมต้องเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน ส่วนจะจ่ายด้วยวิธีไหนนั้นก็ต้องไปคิดให้เหมาะสมกับสภาพ ณ ขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ยังไงก็ยังต้องมีเงินสดเป็นทางเลือก ธนาคารกลางสวีเดนจึงออกจดหมายยืนยันว่าการใช้เงินสดนั้นเป็น “สิทธิตามกฎหมาย” และเขาเลยจะออกกฎบังคับให้ธนาคารต่างๆ ต้องมีให้ใช้เงินสดได้สำหรับบริการพื้นฐาน โดยถ้ากฎผ่านนี่ก็จะใช้เริ่มเดือนกันยายนนี้ (ยังมุ่งไปสู่การลดการลดใช้เงินสดอยู่ แต่บังคับว่าห้ามทิ้งไปเลย) http://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.computerweekly.com%2Fnews%2F450280077%2FSwedens-central-bank-puts-break-on-cash-free-society&h=OAQEYyChNAQGTLNWNIbLqZYfv4J8PiQv2AVVGn4I9uHcPdg&enc=AZMa91rx4gYB53gGXy_FRLy9crXuAfpxYQjxvJv7Iy3rZOLO3dtTb43RAFujmm-DhT8Z7FkTQx71olkvgc9S0iHh3GzSgnRdC-Tsurq_YDRB0I3X5VqrcNo0WtsxnVGINCHJeeIoI2vI_bHS3DWjp02XmSD63qpAVIiQRItv6glkvDiWivN6j43ql_DB7iqLgDdoJwZtY_nMuM_dbrg__ufX&s=1
– ทิศทางของธนาคารกลางสวีเดนเป็นไปตาม Directive 2014/92 ของอียู เรื่องบัญชีธนาคาร ที่ภายในวันที่ 18 กันยายน 2016 ชาติสมาชิกจะต้องรับประกันว่าพลเมืองอียูจะต้องเข้าถึงบัญชีธนาคารแบบพื้นฐานได้ ซึ่งใน Article 1 ข้อ 6 (b) ระบุว่า “This Directive applies to payment accounts through which consumers are able at least to: […] (b) withdraw cash from a payment account;” และ Article 17 ข้อ 1(c) “Member States shall ensure that a payment account with basic features includes the following services: […] (c) services enabling cash withdrawals within the Union from a payment account at the counter or at automated teller machines during or outside the credit institution’s opening hours;” คือยังไงก็ต้องมีที่ทางให้กับเงินสด ส่วนการจะไปสนับสนุนการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ให้เพิ่มขึ้นนั้นก็เป็นอีกเรื่อง ไม่ได้ขัดกัน แต่ยังไงก็ไม่ใช่ “สังคมไร้เงินสด” แน่ๆ http://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Feur-lex.europa.eu%2Flegal-content%2FEN%2FTXT%2F%3Furi%3Duriserv%253AOJ.L_.2014.257.01.0214.01.ENG&h=CAQFSKZqpAQGXBc9XjQknmjRDnL31utFvmd-2h5aFsq36sQ&enc=AZNkio3vNEEw5yXi-PHPuW86jeatxLUdX7hwXxxjgc2Aqp6AcQBKl4E9Lx5dRyDBSLuEyfRDnvF0shK8aFYwz1dkh9NSzIXcf-7aQ3xiOsxFuDKaz4bGSDgTVfQzkmvGplMIB4nvKIpEhoj96XhOKW1FAoGB9tc7-QryXQhXwbXULKQ5OsetYhu-Y97IgTlht5FCGfl5_dfKONyewdIThyfs&s=1
cr : https://www.facebook.com/AComradeOfMine.II/?ref=page_internal